ปัญหาการจัดการจัดกิจกรรมเรียนการสอน เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
พุทธรัตน์ คำเพ็ง
สาขาคณิศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
บทนำ
มนุษย์เรามีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ต่างก็มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์แต่ในขณะเดียวกันบุคคลแต่ละคนก็มีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ ได้หลายประการ เช่น มีรูปร่างต่างกัน มีสีของตา สีของผมต่างกัน บางคนมีความฉลาดบางคนโง่เขลาแม้แต่คู่แฝดยังมี ความแตกต่างกัน เช่น แตกต่างกันในความคิดและอารมณ์ ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดจะมีความเหมือนกันไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จึงมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันและความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่บุคคลควรเข้าใจและศึกษาเพื่อให้เข้าใจเพื่อนมนุษย์
วิวัฒนาการของการศึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่ได้มีการรับรู้มาเป็นเวลานับตั้งแต่ เพลโต้ ( Plato ) ( 427 – 347 ก่อนคริสต์ศักราช ) นักปรัชญาชาวกรีก ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Republic ว่าไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง ต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวของความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์คือ เซอร์ ฟรานซิส กาลตัน ( Sir Francis Galton ) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของกรรมพันธุ์ ได้สรุปว่า สติปัญญาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และกาลตันยังกล่าวไว้ว่า ลายมือของคนเรายังมีความแตกต่างกันอีกด้วย
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences theory)
ความหมาย
อารี พันธ์มณี (2539) แบ่งประเภทของความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
2. ความแตกต่างทางด้านอารมณ์
3. ความแตกต่างทางด้านสังคม
4. ความแตกต่างทางด้านเพศ
5. ความแตกต่างทางด้านอายุ
6. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา
มาลินี จูฑะรพ (2539) กล่าวว่า โดยทั่วไปบุคคลจะมีความแตกต่างกันในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความถนัด ด้านความสนใจ ด้านเจตคติ ด้านแรงจูงใจทางสังคม ด้านค่านิยม ด้านรสนิยม ด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านการศึกษาอบรม ด้านการกระทำ ละด้านอายุ
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533) กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องต่อไปนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางเชาวน์ปัญญา
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางความคิดสร้างสรรค์
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางลีลาการรู้คิด (Cognitive styles)
4. ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ (Learning styles)
5. ความแตกต่างระหว่างเพศ
ส่วนจำเนียร ช่วงโชติ (2532) กล่าวไว้ในเรื่องการวัดความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่า บุคคลมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งวัดได้ มีดังนี้
1. คุณลักษณะทางร่างกายและทางสรีระวิทยาของบุคคล เช่น ขนาด ส่วนสูง น้ำหนัก สัดส่วน และการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
2. คุณลักษณะทางจิตวิทยาของบุคคล เช่น ความแตกต่างในเรื่อง การสัมผัส การรับรู้สิ่งต่างๆ ความแตกต่างในเรื่องสติปัญญา ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม ความสามารถพิเศษ และด้านบุคลิกภาพ
นอกจากนี้ ยังมีการจำแนกประเภทความแตกต่างระหว่างบุคคล ในลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึงลักษณะความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยแบ่งเป็นความแตกต่างด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ
1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
2. ความแตกต่างทางด้านอารมณ์
3. ความแตกต่างทางด้านสังคม
4. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา
ซึ่งจะกล่าวถึงความแตกต่างแต่ละประเภทดังนี้
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
1.ลักษณะทางร่างกายซึ่งสามารถมองเห็นได้เด่นชัด เช่น รูปร่าง หน้าตา อายุ เพศ ลักษณะของสีผิว เส้นผม เล็บฯลฯ และลักษณะอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
2.ลักษณะทางร่างกายซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด เช่น การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต กลุ่มเลือด ปฏิกิริยาที่มีต่อยาและสารเคมีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถใช้เครื่องมือในการวัดลักษณะเหล่านี้ได้
ความแตกต่างทางด้านอารมณ์ อารมณ์ หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งสิ่งเร้าภายในและภายนอกและความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้ มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล โดยทั่วไปอารมณ์จะมีลักษณะอารมณ์ด้านบวก คือ อารมณ์ดี พอใจ สบายใจ สุขใจฯลฯ และอารมณ์ด้านลบ คือ อารมณ์ไม่ดี ไม่พอใจ หงุดหงิด ทุกข์ใจ ฯลฯ คนแต่ละคนมีอารมณ์แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้แตกต่างกันด้วย ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจจะช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีชีวิตที่มีความสุขหรืออาจเป็นตัวบั่นทอนความสุขในชีวิตก็ได้
นักจิตวิทยาเชื่อว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถปลูกฝังให้เกิดขึ้นได้ เพราะสาเหตุที่ทำให้คนเราเกิดอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นผลจากการที่บุคคลเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด เช่น วิธีการอบรมเลี้ยงลูก ในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อลักษณะอารมณ์ของบุคคล นอกจากนี้ยังมีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีอิทธิพลทำให้บุคคลมีอารมณ์แตกต่างกัน ได้แก่การศึกษาจากครอบครัว โรงเรียน สภาพของสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสื่อมวลชนต่างๆ
ความแตกต่างทางด้านสังคม บุคคลแต่ละบุคคลมีพฤติกรรมด้านสังคมแตกต่างกัน นับตั้งแต่ลักษณะการพูดจาสื่อสาร การแต่งกาย การคบเพื่อน และบุคลิกภาพทางสังคมอื่นๆ ทั้งนี้เพราะแต่ละบุคคลมาจากสังคมที่แตกต่างกัน เช่น มาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน บิดามารดามีอาชีพการศึกษา ฐานทางเศรษฐกิจและลักษณะอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลให้บุคคลมีลักษณะสังคมที่ไม่เหมือนกัน นอกจากครอบครัวแล้วยังมีหน่วยสังคมอื่นๆ ที่มีอิทธิพลทำให้บุคคลมีความแตกต่างกันทางด้านสังคม เช่น กลุ่มเพื่อน ผู้ร่วมงาน โรงเรียน ชุมชนที่บุคคลอาศัยอยู่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ และความแตกต่างทางด้านสังคมดังกล่าวจะส่งผลให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะของความสนใจ ความต้องการ ค่านิยมและแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างกันไปด้วย
ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา ได้แก่ ความสามารถของบุคคลในการจำ การคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ และการกระทำสิ่งต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัว ถ้าบุคคลใดทำสิ่งเหล่านี้ได้ดี แสดงว่าบุคคลนั้นมีสติปัญญาสูง นักจิตวิทยาและนักศึกษาค้นพบว่า คนเรามีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับสูง-ต่ำ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพของบุคคล ทั้งในแง่ของการทำงาน และการทำพฤติกรรมอื่นๆ ในชีวิต
โดยปกติความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
1.พันธุกรรม หมายถึง ลักษณะต่างๆที่บุคคลได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งจากหารศึกษาส่วนใหญ่พบว่า บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกับบิดามารดา และบรรพบุรุษ
2.สภาพแวดล้อม หมายถึง สภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการและความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลทั้งสิ้น เช่น อาหาร การดูแลสุขภาพ วิธีอบรมเลี้ยงดู การศึกษา และการส่งพัฒนาด้านอื่นๆ
สาเหตุของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างบุคคลถูกกำหนดโดยปัจจัยใหญ่ๆ 2ประการ คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน โดยผ่านกระบวนการทางชีววิทยา การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ นั้น กำหนดโดยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีนส์ (genes) ซึ่งอยู่ในโครโมโซม (Chromosome) โครโมโซมและยีนส์
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อบุคคล สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อบุคคลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมก่อนคลอด หรือสิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ถือว่าเป็นระยะวิกฤต ทั้งนี้เพราเป็นระยะที่เนื้อเยื่อและส่วนสำคัญต่างๆของร่างกายกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งแวดล้อมระยะนี้จึงมีผลต่อการเสริมสร้างและทำลายโครงสร้างพื้นฐานและระบบประสาทของร่างกายได้อย่างรุนแรง ปัจจัยที่มีผลต่อทารกในขณะที่อยู่ในครรภ์มีหลายอย่าง เช่น อายุของมารดา ความเกี่ยวพันธ์ทางสายเลือดของบิดามารดา คุณภาพของอาหาร ยาที่รับประทาน รังสี บุหรี่ สุรา และความเจ็บป่วยระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมขณะคลอด เช่น ภาวะที่สมองของทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด สมองได้รับอันตรายจากการคลอด หรือการคลอกก่อนกำหนด ส่งผลให้บุคคลมีลักษณะเปลี่ยนแปลงได้
3. สิ่งแวดล้อมหลังคลอด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในช่วงต่อๆมาของชีวิตหลังจากที่คลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว สิ่งแวดล้อมหลังคลอดที่นักจิตวิทยาเห็นพ้องกันว่ามีอิทธิพลต่อการกำหนดพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคลในระดับสูง ได้แก่
3.1 ครอบครัว คนแต่ละคนใช้ชีวิตและเติบโตมาในครอบครัว ครอบครัวจึงจัดเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นแหล่งที่วางรากฐานของการพัฒนาการทุกด้านในชีวิต เป็นแหล่งที่บุคคลได้เรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการเรียนรู้ที่ส่งผลอย่างลึกซึ้ง ต่อการพัฒนาในระยะหลัง (Perry and Perry, 1979) ตัวแปรต่างๆในครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อบุคคล ได้แก่ วิธีการอบรมเลี้ยงดู ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ลำดับการเกิดของเด็ก การศึกษาและอาชีพของพ่อแม่และคนในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว
3.2 โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นสถานบันทางสังคมซึ่งทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กทั้งในด้านวิชาการ ด้านการปรับตัว และการพัฒนาบุคลิกภาพ ปัจจัยสำคัญในโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อบุคคล ได้แก่ บุคลิกภาพของครู หลักสูตรและวิธีการสอน ลักษณะและบรรยากาศในโรงเรียน ฯลฯ
3.3 กลุ่มเพื่อน ลักษณะและพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มเพื่อน ได้แก่ ได้แก่ การคล้อยตามและการยอมรับกติกาของกลุ่ม การมีค่านิยมทางสังคม การสร้างแรงจูงใจฝ่ายสัมฤทธิ์ ฯลฯ
3.4 สื่อมวลชน สื่อมวลชนประเภทต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์อินเตอร์เน็ต วิดี
ทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ยับเป็นสิ่งแวดล้อมที่อิทธิพลต่อบุคคลอย่างมาก เพราะสื่อมวลชนให้ทั้งความรู้ ข่าวสารและความบันเทิง ประกอบกับปัจจุบันเป็นยุคของข่าวสารข้อมูลสื่อมวลชน จึงมีอิทธิพลต่อบุคคลทั้งในทางที่ปรารถนาและไม่พึ่งปรารถนา
3.5 ศาสนา ศาสนามีอิทธิพลต่อบุคคลในส่วนของการสร้างค่านิยม ความสัมพันธ์กันเป็นชุมชน ความมีเอกลักษณ์ และการพัฒนาตนเองของบุคคล
ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พันธุกรรมและสิ่วแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บุคคลที่มีความแตกต่างกัน ปัจจัยทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น จนยากที่จะแยกได้ว่าอะไรมีบทบาทมากกว่ากัน และเป็นสัดส่วนเท่าใด เพราะพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันมีบทบาทต่อบุคคลทั้งในทางส่งเสริมและยับยั้งพัฒนาการและพฤติกรรมต่างๆ ดังที่วิภาพร มาพบสุข (2543) กล่าวว่าพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ส่วนสิ่งแวดล้อมจะเป็นเครื่องช่วยบ่งชี้ว่า คุณลักษณะพื้นฐานเหล่านั้นจะมีการพัฒนาเป็นอย่างไร ดังนั้นปัจจัยที่สองนี้จึงเป็นเหตุให้มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน และอารี พันธ์มณี (2534) กล่าวว่า พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดแนวลักษณะจากบรรพบุรุษ และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดขอบเขตพัฒนาการของบุคคล
เยนนิงส์ นักชีววิทยา ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งกล่าวว่า ความเฉลียวฉลาด อุปนิสัย อารมณ์ ตลอดจนรูปร่างลักษณะต่างๆ ของบุคคลขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เราไม่สามารถแยกพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมออกจากกันได้ ส่วนสุภา มาลากุล ณ อยุธยาและยงยุทธ วงศ์ภิรมณ์ศานต์ (2535) กล่าวว่า พันธุกรรมมีบทบาทเป็นศักยภาพที่จะแสดงลักษณะทางกายและพฤติกรรมออกมาตามลักษณะของบรรพบุรุษ แต่การจะแสดงออกได้จริงมากน้อยเพียงใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วย
ความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคลต่อการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามหลักสูตรต้องการ ทั้งพฤติกรรมด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาเองเต็มศักยภาพ แต่เราจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใดนั้นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งควรคำนึง คือ ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และด้านบุคลิกภาพอื่นๆ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวล้วนส่งผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งสิ้น ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะความแตกต่างที่สำคัญของผู้เรียนซึ่งมีผลต่อการจัดการเรียนการสอน คือ
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย 1. เพศ ผู้ชายและผู้หญิงในความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ลักษณะความแตกต่างที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านความสามารถ เทอร์แมนและไทเลอร์ (Terman and Tyler, 1954) ศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีความสามารถด้านภาษา การเขียน และศิลปะมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แม็คโคบี และแจ็คคลิน (Macaoby and Jacklin, 1974) พบว่าผู้ชายมีความสามารถมากกว่าผู้หญิง ในด้านคณิตศาสตร์ การจำรูปทรง การคิดวิเคราะห์และการคิดริเริ่ม
คาสเซิล (Castle, 1913) พบว่าผู้หญิงมาความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่าผู้ชาย ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายมีอารมณ์มั่นคง มีความหนักแน่น มั่นใจตัวเอง มีนิสัยกล้าเสี่ยง ชอบความท้าทายและมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักมีอารมณ์อ่อนไหว มีความมั่นใจในตัวเองต่ำและมีแนวโน้มในการพึ่งพาและคล้อยตามผู้อื่นมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังมีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกันด้วย สำหรับ ด้านสติปัญญา จากการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย
2. อายุ ความแตกต่างด้านอายุหรือวัยของคนเรา มีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้ คือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความรอบรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิด ความมีเหตุผล และวุฒิภาวะด้านอื่นๆ รวมทั้งความสามารถทางสติปัญญา จากการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา นักจิตวิทยาให้ข้อสรุปสอดคล้องกันว่า ความสามารถทางสมองของคนเราจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 ปี และต่อจากนั้นอัตราพัฒนาการทางสมองจะเริ่มลดระดับลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
3. สุขภาพและลักษณะทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ ความพิการของร่างกาย ความผิดปกติในลักษณะต่างๆ ขนาดของร่างกาย ตลอดจนลักษณะเด่น- ด้อยของรูปร่างหน้าตา มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งในทางส่งเสริมและเป็นอุปสรรค์ ทั้งนี้รวมถึงความบกพร่องบางอย่างทางร่างกายด้วย เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น หรือการได้ยิน เป็นต้น
ความแตกต่างทางอารมณ์ อารมณ์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และการทำกิจกรรมต่างๆของบุคคลเสมอ สำหรับในการเรียนรู้นั้น นักจิตวิทยาและนักการศึกษามีความเห็นสอดคล้องกันว่า การที่ผู้เรียนมีอารมณ์ในทางที่ดี เช่น อารมณ์ดีใจ ร่าเริง ยินดี สบายใจ จะก่อให้เกิดผลดีในการเรียนรู้ ส่วนอารมณ์ในทางที่ไม่ดี เช่น อารมณ์โกธร กลัว เศร้า อิจฉา ตื่นเต้นตกใจ มักเป็นตัวรบกวนความสามารถในการเรียนรู้ แต่บางครั้งอารมณ์ในทางที่ไม่ดีบางอย่างก็ทำให้บุคคลเรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีระดับสติปัญญาค่อนข้างดี ถ้ามีความวิตกกังวลจะทำให้กิจกรรมการเรียนได้ดีขึ้น แต่เด็กที่มีสติปัญญาปานกลางหรือค่อนข้างต่ำจะทำกิจกรรมได้เลวลง ปราณี รามสูต (2528) กล่าวว่าการเกิดอารมณ์ต่างๆ ให้ทั้งผลดีและผลเสียในด้านการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนเกิดอารมณ์ในระดับที่พอดี จะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะตื่นตัว พร้อมที่จะทำกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้
ความแตกต่างทางด้านสังคม บุคคลที่อยู่ในสภาพสังคมที่ต่างกันย่อมมีลักษณะทางบุคลิกภาพและพฤติกรรมแตกต่างกัน เช่น ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจ แรงจูงใจ และลักษณะอื่นๆ รวมทั้งลักษณะทางสติปัญญาซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ จากผลการวิจัยของ แฮฟวิงเฮริด์ และแจนกี้ (Hevinghurst and janke, 1944, 1945) พบว่า เก็ดอายุ 10 และ 16 ปี ที่มาจากชนชั้นสูง มีระดับสติปัญญาสูงกว่าชนชั้นต่ำ (การจัดกลุ่มชนชั้นทางสังคมพิจารณาจากฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และถิ่นที่อยู่อาศัย) เดครอลี่ และดีแกนด์ (Decroly and Degand, 1910) พบว่าเด็กในกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดีกว่า ทำคะแนนได้สูงกว่าเกณฑ์ปกติ จากแบบทดสอบสติปัญญาของบิเนต์ แม็ค เนมา (Mc Nema, 1942) ศึกษาระดับสติปัญญาของเด็กโดยจำแนกตามของอาชีพของบิดามารดา พบว่าระดับสติปัญญาแตกต่างกันอย่างเด่นชัด และไลฟ์เซย์ (Livesay, 1944) ได้ศึกษาพบว่าคะแนนทดสอบเฉลี่ยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปรายในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์กับรายได้ของบิดามารดา
ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา ความสามารถทางสติปัญญาเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของบุคคล นักจิตวิทยาและนักการศึกษาต้นพบว่า ระดับสติปัญญาขิงคนเรามีความแตกต่างกันตั้งแต่ระดับสูง (อัจฉริยะ) จนถึงระดับต่ำ (ปัญญาอ่อน) ในการเรียนการสอนครูส่วนมากจะคิดถึงผู้เรียนทั้งห้องเป็นภาพรวม และคาดหวังให้เรียนส่วนมากซึ่งมีสติปัญญาระดับปานกลางเกิดการเรียนรู้ แต่ในความเป็นจริงในห้องเรียนหนึ่งๆ มักจะมีผู้เรียนสติปัญญาระดับสูง และระดับต่ำกว่าปานกลางรวมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งผู้เรียนทั้งสองประเภทนี้ต้องการความช่วยเหลือจากครูเป็นพิเศษ เพราะการสอนรวมกับผู้อื่นตามปกติเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสองประเภท กล่าวคือ ผู้เรียนระดับสติปัญญาสูงจะเกิดความเบื่อหน่ายและอาจแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น ขาดความสนใจในบทเรียน ทำพฤติกรรมก่อกวนชั้นเรียนเนื่องจากทำงานเสร็จและไม่มีอะไรทำ ขาดแรงจูงใจในการเรียน เพราะงานที่ครูให้ทำงานเกินไป และไม่ท้าทาย ดังนั้นครูจึงควรจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมผู้เรียนประเภทนี้ให้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ในการเรียน
โปรแกรมที่นักการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาจัดให้เด็กที่มีสติปัญญาสูงมี 3 ประเภท คือ
1. การข้ามชั้น
2. การจัดโปรแกรมพิเศษเพื่อส่งเริมการเรียนรู้
3. การแบ่งเรียนเป็นกลุ่ม สอนตามความสามารถ
สำหรับประเทศไทย มีการเปิดโอกาสให้สอบเทียบความรู้ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้โรงเรียนบางโรงเรียนยังจัดโปรแกรมพิเศษสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ โปรแกรมการเรียน 2 ปี และ 3 ปี
สำหรับผู้เรียนที่มีสติปัญญาต่ำกว่าปานกลางหรือเด็กเรียนช้า ซึ่งมักมีพฤติกรรมแตกต่างไปจากเด็กปกติ
คือ มักขาดความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า และขาดความนับถือตนเอง มีความจำระยะสั้น มีความสนใจสั้น ไม่สามารถสำรวมความคิดและพฤติกรรมได้นาน และเมื่อเผชิญกับสภาพที่เป็นปัญหามักจะเกิดความท้อถ้อยหรือคับข้องใจ การสอนเด็กเรียนช้าที่ได้ผลดีก็คือ การสอนเป็นรายบุคคล แต่อาจมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม สุรางค์ โค้วตระกูล (2533) ได้เสนอหลักในการสอนเด็กเรียนช้าไว้ดังนี้
1.ครูจะต้องแสดงให้นักเรียนทราบว่า ครุเต็มใจที่จะช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
2.หลีกเลี่ยงสภาวะที่ก่อให้นักเรียนที่เรียนช้าเกิดความคับข้องใจ โดยการจักบทเรียนให้เหมาะสม กับความสามารถเช่น เลือกงานที่ง่ายและน้อยกว่านักเรียนปกติ
3.ครุควรเลือกถามคำถามที่นักเรียนเรียนช้าตอบได้ และให้เวลาในการตอบ
4.จัดหน่วยเรียนให้สั้นและจบได้ในตัว
5.ครูควรทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วทุกครั้งที่จะเริ่มบทเรียนใหม่
6.ให้ข้อมูลย้อนกลับทันที
7.ช่วยให้นักเรียนเรียนช้าติดตามผลความก้าวหน้าทางการเรียนของตนเอง เพื่อจะได้มีกำลัง
ความแตกต่างทางด้านบุคลิกภาพอื่นๆ นอกจากบุคคลจะแตกต่างกันในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความแตกต่างกันด้านบุคลิกภาพอื่นๆ เช่น ความถนัดตาธรรมชาติ ความสนใจ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ วิธีคิดและแบบของการเรียนรู้ ฯลฯ ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีผลต่อการเรียนทั้งสิ้น โดนเฉพาะอย่างยิ่งแบบการเรียนรู้ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เช่น คนบางคนเรียนรู้ได้ดีด้วยการใช้สายตาหรือการสังเกต (Visual) บางคนเรียนรู้ได้ดีด้วยการฟัง (Auditory) บางคนเรียนรู้ไดดีด้วยการพูด (Talking) และบางคนเรียนรู้ได้ดีโดยการใช้มือหรือการสัมผัส (Touching) นอกจากนี้ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ได้ดีถ้ามีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่บางคนจะทำได้ไม่ดี บางคนต้องการให้คอยดูหรือจ้ำจี้จ้ำไช แต่บางคนชอบอิสระ เป็นต้น ในห้องเรียนหนึ่งๆ ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความแตกต่างกันอย่างหลากหลายปละความแตกต่างเหล่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ถ้าครูตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนอย่างจริงจัง ก็สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองผู้เรียน และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างเต็มที่
เอกสารอ้างอิงhttp://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2555/coms30555nn_ch2.pdf http://www.baanjomyut.com/library_2/extension1/concepts_of_developmental_psychology/04_2.htmlhttps://nuttapong.wikispaces.comhttp://thongkred99.blogspot.com/2013/07/blog-post_7954.html