วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปัญหาครอบครัวที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก

ปัญหาครอบครัวที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
          ครอบครัว ถึงแม้จะเป็นหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม แต่หน่วยทางสังคมหน่วยเล็กหน่วยนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เป็นพื้นฐานของสังคม เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดของสมาชิกในสังคม เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่ร่วมกันต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นครอบครัวใหญ่ในสังคมอย่างสันติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญแก่ครอบครัวมาเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันครอบครัวแห่งชาติด้วย และเป็นที่สอดคล้องกับในโลกสากล โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537)

         จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคคลและค่านิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว ผลกระทบดังกล่าวจึงส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา

1. ความเป็นมาของครอบครัว
         “ครอบครัว” เป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันพื้นฐาน ที่มีบทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ ถ่ายทอดค่านิยม ปลูกฝังความเชื่อ สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศครอบครัวจึงเปรียบเสมือนจักรกลชั้นแรกที่ ทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการ นำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

2. ความหมายของครอบครัว
          ครอบครัวแต่เดิมมีเพียงผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ได้แก่ บิดา มารดา บุตร และแม้จะมีเครือญาติ ก็ยังคงหมายถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิตร่วมกัน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ซึ่งต่อมาได้มีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556 ได้กำหนดความหมายของครอบครัวไว้กว้าง ๆ ดังนี้

         “ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลัก เป็นแกนกลางของสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ครอบครัวมีหลากหลายรูปแบบและหลายลักษณะ นอกเหนือจากครอบครัวที่ครบถ้วนทั้งบิดา มารดาและบุตร”

3. ลักษณะของครอบครัวไทย
           ครอบครัวไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกครอบครัว หลายช่วงอายุอย่างน้อย 3 รุ่น คือ    1) รุ่นปู่ย่า ตายาย
              2) รุ่นพ่อแม่
              3) รุ่นลูก
เป็นครอบครัวที่มีความร่วมมือกันในกิจกรรมด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การอบรมเลี้ยงดู 
การปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม และในอดีตครอบครัวมีบทบาทหน้าที่อย่างน้อย 3 ประการ
1. เป็นแหล่งขัดเกลาทางสังคม (socialization) ให้การอบรม การเรียนรู้ การสร้างบุคลิกภาพ ระบบ วิธีคิด การให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ
2. เป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาชีพและฝึกฝนอาชีพ การบ่มเพาะให้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มี คุณภาพ
3. เป็นแหล่งให้การสังคมสงเคราะห์เบื้องต้น มีความเอื้ออาทร ให้ความช่วยเหลือในเครือญาติในสภาวะวิกฤตต่าง ๆ
4. สถานการณ์ของครอบครัวไทย
            สถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อครอบครัวและบุคคล ครอบครัวจึงเกิดการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง รูปแบบ ขนาดของครอบครัวและวิถีชีวิต รวมทั้งสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว

ปัญหาวิกฤตของครอบครัว
           จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างรวด เร็ว มีการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ สังคมไทยซึ่งแต่เดิมเป็นสังคมชนบท มีความเอื้ออาทรต่อกันมีแนวโน้มเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ซึ่งมีผล ต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติที่ครอบครัวเผชิญอยู่ ดังนี้
1. ปัญหาเศรษฐกิจ
2. ความสัมพันธ์ในครอบครัว
3. การสมรสน้อยลงและการหย่าร้างเพิ่มขึ้น
4. เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
5. พฤติกรรมไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
6. ความรุนแรงในครอบครัว
7. ยาเสพติด

สาเหตุของปัญหาครอบครัว
           นโยบายและแผนในการพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2537 –2546 ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้
1.ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น
2.สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้
3.สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว ว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคม
4.สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดยสื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจใน การพัฒนาครอบครัวเพียงพอ

5. แนวโน้มที่เกิดจากผละกระทบจากปัญหาครอบครัว
            จากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์และภาวะความทันสมัยที่เน้นปัจเจกบุคลและค่า นิยมในการบริโภคและวัตถุนิยมมากขึ้น ส่งผลต่อค่าครองชีพและแบบแผนของครอบครัว ผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลให้ครอบครัวมีแนวโน้มประสบปัญหา ดังนี้
1. โครงสร้างของครอบครัวทั้งในเมืองและในชนบทที่เป็นครอบครัวเดี่ยวจะมีแนวโน้มที่ขนาดของ ครอบครัวเล็กลง

2. โครงสร้างของครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลสองวัย คือ ผู้สูงอายุและเด็กจะมีมากขึ้นโดยเฉพาะในชนบทเนื่องจากการที่หนุ่มสาววัยแรง งานอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองใหญ่

3. ผู้สูงอายุในชนบทที่เคยมีบทบาทในการถ่ายทอดคุณธรรมและวัฒนธรรมให้แก่ ลูกหลาน และเป็นวัยที่ควรจะได้รับการดูแล เอาใจใส่จากลูกหลาน จะถูกปรับเปลี่ยนบทบาทและรับภาระมากขึ้น

4. ครอบครัวที่สามีและภรรยาอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสมีมากขึ้น เนื่องจากค่านิยมในการรักอิสระ และไม่ต้องการพึ่งพิงกัน

5. ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงลูกตามลำพังมีมากขึ้น เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแยกกันอยู่ของครอบครัว

6. การเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว พ่อแม่จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกและการอยู่กับลูกสั้นลง เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการให้ความสำคัญกับบทบาททางหน้าที่การงาน มากกว่าครอบครัว

7. เด็กกำพร้าพ่อหรือแม่หรือทั้งพ่อและแม่อันเนื่องมาจากพ่อแม่เสียชีวิต จากการติดเชื้อเอดส์ มีจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลประมาณการว่า ในปี 2543 มีกลุ่มเด็กอายุ 0- 5 ปี ที่กำพร้าเพราะพ่อ แม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ จำนวน 30,845 คน


แนวทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
              รู้จักการถนอมน้ำใจกัน ในการอยู่ร่วมกัน ต้องมีการรับผิดชอบมากกว่าเดิม เช่น
ในการหาเลี้ยงชีพ การเลี้ยงดู ควรศึกษาพฤติกรรมและสุขภาพของแต่ละฝ่าย ในเรื่องของความพร้อม ความเป็นไปได้ ความเสี่ยงต่อปัญหาภายในอนาคต เช่น ความเป็นแม่ที่ดีของลูก หรือความเป็นพ่อในการแบกรับภาระ มีการวางแผนชีวิตครอบครัวภายในอนาคต ควรเตรียมความพร้อมด้านการเงิน
ให้ความสำคัญกับผู้ที่อุปการะเลี้ยงดู คือบิดา มารดา เช่นการไปเยี่ยมเยื่อน การพูดคุย หรือมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน ดูแลเอาใจใส่ เป็นต้น ควรใช้หลักพื้นฐานในการเชื่อใจกัน รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เช่นการคบเพื่อนต่างเพศหรือเพื่อนฝูงเก่าๆในอดีต หรือข่าวลือด้านต่างๆ



อ้างอิง

“กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก.
http://www.m-society.go.th/index.php
“ปัญหาครอบครัว” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก. http://www.learners.in.th/blogs/posts/336498

รองศาสตราจารย์สุพัตรา สุภาพ ,ปัญหาสังคม , พิมพ์ครั้งที่ 9 , กรุงเทพมหานครฯ : บริษัทโรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด , 2533 , ( 129 หน้า )

สุพัตรา สุภาพ ,ปัญหาสังคม , พิมพ์ครั้งที่ 17 , กรุงเทพมหานครฯ : บริษัทโรงพิมพ์วัฒนาพานิชจำกัด , 2543 , ( 157 หน้า )

http://kuickfamily.blogspot.com/