วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

3 ) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

3 ) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)  
      http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  
     แฮร์บาร์ต (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
      Bigge (2547:47) กล่าวไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral-active)
2) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาททั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
4) ทิชเชเนอร์ มีความเห็นเช่นเดียวกับ วุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสารทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)
6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2) การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3) การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1)  ขั้นเตรียมการ หรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
3.2)  ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
3.3) ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
3.4) ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ ที่จะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆ ต่อไป
3.5) ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำของสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม

กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  

เอกสารอ้างอิง
URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
URL:http://dontong52.blogspot.com/.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
URL:http://dontong52.blogspot.com/.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554

2)ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

2)ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
    http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก 
   สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้ 
 ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
     1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
     2. ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ
     3. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
     4. รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
     5. เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
     6. เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
     7. ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
     8. ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

     http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
 หลักการจัดการศึกษา/การสอน
     1. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ
     2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
     3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
          3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
          3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
          3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
          3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
     4.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

   กล่าวโดยสรุป  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กและยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
   เอกสารอ้างอิง
URL:http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.URL:http://surinx.blogspot.com/.เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554
URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554

1) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

1) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
         http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  ได้รวบรวมกล่าวไว้ว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในฤฤการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
     บริหารการศึกษาhttp://dontong52.blogspot.com/ ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
     1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิด คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
 1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (Bad-active)
  2. มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบร

  3. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
 4. การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
 5. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น

     2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักิคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อ
 1. พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลมา 2. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
 3. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
 4. มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

       ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรง
ได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
  กล่าวโดยสรุป  จิตคือสภาวะที่ตัวรู้ว่าทำอะไร คิดอะไร รู้สึกอะไร อาจเกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า เราสามารถควบคุมการทำงานของจิตได้ จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาได้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกฝนให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นเป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี               
   เอกสารอ้างอิง
URL:http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm.เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554
บริหารการศึกษา.URL:http://dontong52.blogspot.comเข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร